ดูแลห่านทองคำของคุณด้วยสุขภาวะในองค์กร Cr. A Cup Of Culture (www.brightsidepeople.com)

 


ความกดดันในการสร้างผลประกอบการเป็นแรงกดดันที่ทำให้หลาย ๆ ธุรกิจต้องโฟกัสกับมันจนบางครั้งอาจหลงลืมรากฐานสำคัญขององค์กรไปนั่นก็คือ สุขภาวะ หรือ Well-being ของพนักงาน คล้ายกับการมีห่านที่ออกไข่เป็นทอง แต่ฝืนจนห่านออกไข่ไม่ไหว


ที่ผ่านมาหลาย ๆ แห่ง มองด้านสุขภาวะว่าเป็นเรื่องส่วนตัว และไม่ใช่ปัญหาของการบริหารองค์กร แต่ความเชื่อนั้นไม่จริงอีกต่อไปแล้ว เพราะการศึกษาด้านองค์กรในช่วงตลอดกว่า 40 ปีที่ผ่านมาพบว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากสุขภาพที่ดีของพนักงานนั้นส่งผลทางตรง และทางอ้อมต่อผลประกอบการด้านธุรกิจอย่างไม่น่าเชื่อ


Well-being ในมุมวัฒนธรรมองค์กร


Employee engagement หรือการมีส่วนร่วมของพนักงาน เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่หลาย ๆ บริษัทแสวงหา แต่จากการศึกษาของ Gallup พบว่าบริษัทที่มีหัวคิดสมัยใหม่ไม่ได้มองหา Engagement เดี่ยว ๆ อีกต่อไป แต่ถอยกลับมามองไปถึงภาพใหญ่ที่มันเพียงเป็นแค่องค์ประกอบหนึ่ง นั่นก็คือ Well-being หรือสุขภาวะนั่นเอง


ที่ผ่านมาหลาย ๆ บริษัทมีการพูดถึง Well-being ไว้เพื่อเป็นสโลแกนในการดึงดูด Talent หรือการตั้งเป็นโครงการสุขภาพที่จ่ายงานไปให้ฝ่ายบุคคลวางแผนจัดการสวัสดิการต่อไป ซึ่งก็พบว่าผลลัพธ์ไม่ได้เป็นที่น่าพอใจทั้งในด้านความพึงพอใจของพนักงาน และ Performance


ปัญหาของการมอง Well-being  ในฐานะโครงการเป็นวิธีที่ไม่ได้ผล เพราะสุขภาวะกายและใจของพนักงานเองนั้นมันเป็นเรื่องที่ต้องลงลึกไปให้ถึงการทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของวิธีคิด หรือ Mindset หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้นคือการทำให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

เพราะงานวิจัยปี 2019 ของ Gallup พบว่า:

  • ถ้าพนักงานมีสุขภาวะที่ดีตั้งแต่ปีแรกที่เริ่มงาน จะมีทั้ง Engagement ในงานและสุขภาพวะที่ดีในปีถัด ๆ
  • ในทางกลับกันถ้าพนักงานกำลังเป็นทุกข์ หรือลำบากใจบางอย่าง พนักงานที่มีปัญหาดังกล่าวจะส่งผลทางลบต่อสภาพแวดล้อมของทีม และบริษัทโดยรวมด้วย


ดังนั้น ในการพัฒนาสุขภาวะ เราต้องมองไปให้เห็นถึงภาพรวมทั้งหมดขององค์กร และเช่นเดียวกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กรทุกรูปแบบ ถ้าผู้จัดการหรือผู้บริหารเปิดให้มีการพูดคุยหรือแสดงออกที่ส่งเสริมสุขภาวะ แล้วทำให้มันเป็นบรรทัดฐานขององค์กร พนักงานจะยิ่งอยากมีส่วนร่วมกับการสร้าง Well-being ได้มากขึ้น เพราะมันเป็นผลดีทั้งกับตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์กรโดยรวม แต่ถ้าผู้บริหารไม่ให้ความร่วมมือ หรือยังไม่เห็นความสำคัญ มันจะยากที่องค์กรนั้น ๆ จะสามารถสร้าง Well-being ให้เกิดขึ้นได้จริง ๆ


และเช่นเดียวกับ Core value อื่น ๆ ขององค์กร Well-being ไม่สามารถเป็นแค่คำโปรยบนกำแพง หรือโครงการย่อย ๆ ได้ แต่ผู้นำ ผู้บริหาร และผู้จัดการจะต้องจริงจังกับการทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนาธรรมองค์กรจริง ๆ องค์กรจะต้องโฟกัสกับการสร้างวัฒนธรรมที่คนในองค์กรรู้สึกว่างานมีความหมาย และเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ Productive และ Healthy ดีต่อใจด้วย การส่งเสริม Wellbeing ในองค์กรจึงหมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับพนักงาน ชุมชน และสังคมโดยรวม และมันเริ่มจากการที่ผู้นำองค์กรที่จะต้องตั้งใจที่จะส่งเสริมและเปิดโอกาสให้พนักงานได้เติบโต และมีสุขภาวะที่ดีรอบด้านตั้งแต่ ส่วนตัว ด้านการงาน สุขภาพ และการเงิน


แต่หากใครยังลังเลด้วยคำถามที่ว่า Well-being นั้นสำคัญจริง ๆ หรือไม่นั้น วันนี้เรา 4 งานวิจัยที่จะมาช่วยยืนยันความสำคัญ และอิทธิพลที่มีต่อผลประกอบการของสุขภาวะ


Well-being ดีต่อมูลค่าบริษัทในตลาดอย่างชัดเจน


งานวิจัยชิ้นแรกที่จะพูดถึงเป็นของปี 2013 ที่พบว่าบริษัทที่ได้รับรางวัล Corporate Health Achievement Aware ซึ่งเป็นรางวัลที่ให้กับองค์กรที่ดูแลสุขภาพ และความปลอดภัยของพนักงานอย่างดี โดยมีผู้ได้รับรางวัล อย่างเช่น American Express หรือ Johnson and Johnson ผู้วิจัยนำราคาหุ้นของบริษัทกลุ่มนี้ในตลาดมาเทียบย้อนหลังเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในตลาดเดียวกัน และพบว่าบริษัทกลุ่มนี้มีมูลค่าหุ้น และผลประกอบการที่สูงกว่าบริษัททั่วไปอย่างชัดเจน


และในปีถัดมีก็มีอีกงานวิจัยที่ไปติดตามอีกรางวัลที่เกี่ยวข้องกับ Well-being ก็คือ Employee Health Management Best Practices ที่ทำร่วมกับ Mercer และเทียบกับตลาด S&P 500 เป็นระยะเวลา 6 ปีพบว่า องค์กรเหล่านี้มีมูลค่าในตลาดโตขึ้น 235% เทียบกับองค์กรอื่น ๆ ใน S&P 500 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 159%


และถ้า 6 ปียังไม่ชัดพออีกการศึกษานึงที่อิงจากรางวัล Koop Health Award ที่มีผู้ได้รางวัลเช่น Dell, IBM, Pepsi, Johnson&Johnson, Citibank ผู้วิจัยติดตามบริษัทในกลุ่มนี้เป็นระยะเวลา 14 ปี (2000-2014) โดยเทียบกับดัช S&P 500 พบว่าอัตรการโตขององค์กรกลุ่มนี้ตลอด 14 ปีโตขึ้นกว่า 325% เทียบกับตลาดที่โตขึ้นเพียง 105% นั่นแปลว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญกับสุขภาวะพนักงานสามารถทำผลประกอบการชนะตลาดไปได้กว่า 3 เท่า และรวมถึงผลตอบแทนแบบการปันผลก็ไม่น้อยหน้าเพราะก็ชนะตลาดไปที่ 2.31% ต่อ 1.95%


และสุดท้ายในปี 2019 มีงานชิ้นใหญ่สุดที่เพิ่งจะเสร็จออกมาเป็นงานวิจัยแบบ meta-analysis โดยศึกษา Well-being ของพนักงาน 1,882,131 คน และผลประกอบการของบริษัท 82,248 แห่ง เพื่อจะตอบคำถามที่ตั้งว่า “Well-being มันช่วยเพิ่ม Productivity และนำไปสู่ผลประกอบการที่จับต้องได้จริง ๆ ใช่ไหม” และแน่นอนว่าผลลัพท์ตอกย้ำความสำคัญของ Well-being จองพนักงาน เพราะมันส่งผลโดยตรงต่อ Productivity และ Customer loyalty และแน่นอนว่าลดอัตรา turnover อย่างมาก


เราเห็นได้ชัดว่าสุขภาวะในการทำงานมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประกอบการของบริษัท ดังนั้นการลงทุนในสุขภาพกาย และใจของพนักงาน จึงเป็นสิ่งที่ทำให้หลาย ๆ บริษัท ในตอนนี้โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มที่เป็น high-performing company และมันคงดีไม่น้อยถ้าข้อได้เปรียบในด้านผลประกอบการเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้บริษัทอื่น ๆ หันมาลงทุนในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีต่อสุขภาวะของพนักงานอย่างจริงจังมากขึ้นเช่นกัน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จะทำอย่างไร ให้วัฒนธรรมของ สปน. "The Smart OPM" เป็นจริงและหยั่งรากลึกในใจเราทุกคน ?

DIGITAL WORKPLACE การทำงานรูปแบบใหม่ ที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม Cr. Ourgreenfish

Idea Management เคล็ดลับในการสร้าง Innovation Cr. A Cup Of Culture (www.brightsidepeople.com)